วันศุกร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2559

รายงานการตรวจสอบกิจการสหกรณ์ฯประจำปีการเงิน 2559

รายงานการตรวจสอบกิจการ
สหกรณ์ออมทรัพย์ครูสิงห์บุรี จำกัด
สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 พฤศจิกายน 2559
 



เรียน ที่ประชุมใหญ่สหกรณ์ออมทรัพย์ครูสิงห์บุรี  จำกัด

ตามที่ที่ประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2558  เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2558 ได้เลือกตั้งสมาชิกจากหน่วยอำเภอต่าง ๆ ให้ทำหน้าที่ตรวจสอบกิจการสหกรณ์ออมทรัพย์ครูสิงห์บุรี จำกัด ดังนี้
1. นางสาวสุมารี  อุสาหะ จากหน่วยอำเภอพรหมบุรี และอำเภอท่าช้าง
2. จ.ส.อ.ดิเรก  พรประเสริฐ จากหน่วยอำเภออินทร์บุรี
3. นายสำราญ  ชูเนตร จากหน่วยอำเภอบางระจัน และอำเภอค่ายบางระจัน
4. นางสุมาลี  ชูจันทร์  และ 5 นายวันชัย  กล้าเอี่ยม จากอำเภอเมืองสิงห์บุรี  โดยให้ปฏิบัติหน้าที่  สำหรับปีทางบัญชีสิ้นสุดวันที่ 30 พฤศจิกายน 2559 และ 30 พฤศจิกายน 2560 รวม 2 ปีตามระเบียบฯกำหนด  ซึ่งคณะผู้ตรวจสอบกิจการทั้ง 5 คน ได้ทำการตรวจสอบ และรายงานผลการตรวจสอบ ให้ข้อสังเกต และข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการดำเนินการเป็นประจำทุกเดือนตลอดปี  2559  จึงขอเสนอผลการตรวจสอบประจำปี 2559  โดยสรุปดังนี้
          1.  วัตถุประสงค์ของการตรวจสอบ
               1.1  เพื่อตรวจสอบการบริหารงานของคณะกรรมการดำเนินการ
               1.2   เพื่อตรวจสอบการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการบัญชีและการควบคุมการเงิน
              1.3   เพื่อตรวจสอบการดำเนินงานอื่น ๆ ของสหกรณ์
          2.  ขอบเขตการตรวจสอบ/วิธีการตรวจสอบ
               2.1   ตรวจสอบความถูกต้องของการบันทึกบัญชีตามเอกสารหลักฐาน
              2.2   ตรวจสอบการควบคุมการเงินตามระเบียบและข้อกำหนดของสหกรณ์
              2.3   ตรวจสอบการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ ข้อบังคับ ระเบียบ และมติของที่ประชุม
              2.4   ตรวจสอบการบริหารงานของคณะกรรมการดำเนินการตามแผนงาน และงบประมาณ
                      ที่กำหนดไว้
          3.  ผลการตรวจสอบและข้อเสนอแนะที่สหกรณ์ควรแก้ไข
              3.1   ผลการดำเนินงาน สหกรณ์มีสมาชิกเมื่อต้นปี 3,171 คน ระหว่างปีสมาชิกเพิ่มขึ้น 157 คน  ออกจากสหกรณ์ 61 คน สมาชิกคงเหลือวันสิ้นปี 3,266 คน  ในวันสิ้นปีสหกรณ์มีทุนดำเนินงานทั้งสิ้น 1,850,680,269.09บาท    และในรอบปี  สหกรณ์มีรายได้ทั้งสิ้น120,050,647.69บาท  ค่าใช้จ่าย 19,072,653.77 บาท  มีกำไรสุทธิ 100,977,993.92 บาท เพิ่มขึ้น จากปีก่อน 14,259,670.02 บาท  หรือร้อยละ 14.12
              3.2   ด้านบริหารงานทั่วไป
                      จากการตรวจสอบกิจการตลอดปีการเงิน 2559 การดำเนินงานของคณะกรรมการและเจ้าหน้าที่ มีความมุ่งมั่น ตั้งใจ และเสียสละ ผลการดำเนินงานโปร่งใส ไม่พบเหตุที่จะส่อในทางทุจริตแต่อย่างใด มีผลการดำเนินการ ด้านกำไรสุทธิ สูงกว่าประมาณการที่กำหนดไว้ แต่เนื่องจากภาระงานของคณะกรรมการมีมากขึ้นด้วยกิจการสหกรณ์เติบโตขึ้นโดยลำดับ และคณะกรรมการมุ่งหวังที่จะจัดบริการสวัสดิการสู่สมาชิกให้มากขึ้น เช่นการจัดกิจกรรมมุทิตาสมาชิกผู้เกษียณอายุ เป็นต้น ทำให้ กระบวนการดำเนินการขาดความสมบูรณ์ในการปฏิบัติตามที่ระเบียบกำหนดไว้ และการดำเนินการตามรายการที่ที่ประชุมใหญ่ได้เห็นชอบให้ดำเนินการ ซึ่งได้แก่กระบวนการตามระเบียบว่าด้วยการพัสดุ และรายการติดตามหนี้ค้างชำระ  อีกทั้งตัวระเบียบเองยังขาดความเหมาะสมกับสภาพงานที่พัฒนาก้าวหน้าตามระบบเทคโนโลยีที่นำมาให้ในระบบการปฏิบัติงาน เช่นระเบียบว่าด้วยการรับ จ่าย และเก็บรักษาเงิน ปัจจุบันมีการรับเงินผ่านระบบการโอนทางธนาคาร แต่ระเบียบยังคงระบุไว้ให้รับด้วยเงินสด เป็นต้นอย่างไรก็ตามความไม่สมบูรณ์ดังกล่าวมิได้มีผลเสียหายต่อสหกรณ์
                      สรุปข้อสังเกตที่ได้จากการตรวจสอบและข้อเสนอแนะ
                           1. ควรมีการปรับปรุงระเบียบให้สอดคล้องกับการปฏิบัติงาน
                           2. ควรมีการเร่งรัดติดตามหน้าค้างชำระให้มากขึ้น
                           3. ควรใช้แผนเป็นเครื่องมือในการบริหารอย่างจริงจังจะช่วยลดภาระและสามารถบริหารงานได้ครอบคลุม
              3.3   ด้านบัญชี
                        การดำเนินการในระบบบัญชี และทะเบียนต่าง ๆของสหกรณ์ฯ ยังมีการปฏิบัติด้วยระบบมือ และระบบโปรแกรมสำเร็จรูปควบคู่กันไป ซึ่งนับเป็นเรื่องดี ที่สามารถตรวจสอบยืนยันข้อมูล จากการตรวจสอบจึงไม่พบความผิดพลาด รวมทั้งมีการจัดเก็บเอกสารประกอบเป็นระบบ เรียบร้อย สามารถตรวจสอบได้ทุกเวลา แต่การทำด้วยมือเป็นภาระงานที่ที่เจ้าหน้าที่ต้องใช้เวลาเกือบทั้งหมดในการจัดทำ ในขณะเดียวกันในระบบโปรแกรมสำเร็จรูป ก็สามารถตรวจสอบได้เช่นเดียวกัน แต่เนื่องจากผู้ปฏิบัติยังไม่มั่นใจในระบบโปรแกรมสำเร็จรูปเท่าที่ควร จึงยินดีที่จะทำควบคู่เพื่อความถูกต้องอย่างมีคุณภาพ
                      สรุปข้อสังเกตที่ได้จากการตรวจสอบและข้อเสนอแนะ
                           1. ควรมีการพัฒนาผู้ปฏิบัติและผู้เกี่ยวข้องรวมทั้งพัฒนาระบบโปรแกรม ให้ก้าวทันความเปลี่ยนแปลงของสังคมและมีความทันสมัย ทั้งนี้ควรพัฒนาให้สมาชิกที่เป็นเจ้าของสหกรณ์ได้สามารถตรวจสอบรายละเอียดที่เกี่ยวของกับตัวสมาชิก และการดำเนินการของสหกรณ์ได้ด้วยในระบบเทคโนโลยี
                           2. เมื่อระบบโปรแกรมสำเร็จรูปมีความครบถ้วน ผู้ปฏิบัติมีความมั่นใจ ควรยกเลิกระบบทะเบียนที่ทำด้วยมือ เพื่อลดภาระงาน ทั้งนี้ควรเพิ่มระบบการตรวจสอบภายในให้ชัดเจน และมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
                     
              3.4   ด้านการเงิน
                      สหกรณ์มีเงินสดคงเหลือ ณ วันสิ้นปี  จำนวนบาท  26,026.78 บาท ถูกต้อง ตรงตามบัญชี อยู่ในความรับผิดชอบของ นางอัญชลี พุ่มพวง   การใช้จ่ายเงินต่าง ๆ เป็นไปไปตามงบประมาณรายจ่ายที่ที่ประชุมใหญ่กำหนดไว้  ยกเว้นรายการค่าใช้จ่ายวันประชุมใหญ่ ที่จ่ายให้สมาชิกที่ไม่ได้มาเข้าประชุมด้วยเหตุต่าง ๆ ปีการเงิน 2559 ที่จ่ายในคราวประชุมใหญ่เมื่อ 20 ธันวาคม 2558 โดยมีการดำเนินการจ่ายหลังวันที่ 20 ธันวาคม 2558 เป็นจำนวน 350,400 บาท และรายการสมทบจ่ายสมาชิกที่เกษียณอายุราชการ เป็นจำนวน 802,800.- บาท ทั้ง 2 รายการไม่ปรากฏในรายละเอียดการอนุมัติของที่ประชุมใหญ่
                      สรุปข้อสังเกตที่ได้จากการตรวจสอบและข้อเสนอแนะ
                          คณะกรรมการควรมีการศึกษารายละเอียดระเบียบฯที่เกี่ยวข้องและมติที่ประชุมใหญ่ก่อนมีมติให้ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเงิน การจ่ายเงิน 2 รายการดังกล่าวข้างต้น เป็นการจ่ายเพื่อสมาชิก และได้ตรวจสอบหลักฐานการจ่ายแล้วถูกต้อง ขอแสนอให้ดำเนินการ ดังนี้
                            1. นำรายละเอียดขอความเห็นชอบต่อที่ประชุมใหญ่เป็นกรณีพิเศษ
                             2. ผู้ไม่มาประชุมในคราวนี้ ไม่ควรจ่ายให้มีสิทธิเสมอผู้มาประชุมไม่ว่ากรณีใด ๆ หากจำเป็นที่จะตอบแทนด้วยเหตุไปทำความดีที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม หรือสหกรณ์ หรือจะช่วยเหลือผู้เจ็บป่วย ชราภาพ ควรจัดเป็นสวัสดิการ ซึ่งตามแผนของสหกรณ์ได้กำหนดที่จะดำเนินการอยู่ด้วยแล้ว
              3.5   ด้านเงินรับฝาก
                      สหกรณ์ฯ จัดให้มีรับฝากเงินจากสมาชิก เพื่อส่งเสริมการออม โดยรับฝากเงินประเภทออมทรัพย์พิเศษเพียงประเภทเดียว
                      วันสิ้นปีมีเงินรับฝากคงเหลือ  คือ
                      (1)   เงินรับฝาก สมาชิกสามัญ 618 บัญชี    จำนวนเงิน 549,902,325.62 บาท
                      (2)   เงินรับฝาก สมาชิกสมทบ   49  บัญชี   จำนวนเงิน   60,894,494.94 .บาท
                     (3)   เงินรับฝาก สกสค.               1 บัญชี   จำนวนเงิน 200,000,000.00 บาท
                                                รวม          668 บีญชี   จำนวนเงิน 810,796,820.56 บาท
สมาชิกสามัญมีการออมกับสหกรณ์ฯ จำนวน 618 บัญชีหากคิด 1 บัญชี ต่อสมาชิก 1 คน พบว่าสมาชิกสามัญมีการออมกับสหกรณ์เพียงร้อยละ 19.50 หรือประมาณ 20 คน สำหรับสมาชิกสมทบ มีการออมกับสหกรณ์ถึงร้อยละ 50
                         สรุปข้อสังเกตที่ได้จากการตรวจสอบและข้อเสนอแนะ
                                    ไม่มี
                              ขอให้ข้อเสนอแนะเพื่อการดำเนินการในอนาคต
                                  1 .ควรส่งเสริมให้สมาชิกสามัญมีการออมกับสหกรณ์ฯเพิ่มขึ้นอย่างน้อย ร้อยละ 50 เท่าเทียมกับสมาชิกสมทบ
                                   2. เตรียมการป้องกันความเสี่ยงด้วยการจัดตั้งกองทุนประกันเงินฝาก
                           3.6 ด้านสินเชื่อ
                      สหกรณ์ฯให้เงินกู้แก่สมาชิกระหว่างปี ประเภท มียอดเงินให้กู้ ต้นปีคงเหลือที่สมาชิก
                      (1)   เงินกู้  ฉฉ. และเบี้ยประกัน   จำนวน 1,354     สัญญาจำนวนเงิน 438,723,314.- บาท
                      (2)   เงินกู้สามัญ จำนวน 886 สัญญา        จำนวนเงิน 2,155,317,953.-บาท
                        (3) เงินกู้พิเศษ   จำนวน      3 สัญญา        จำนวนเงิน        4,246,800.-บาท
                      วันสิ้นปีมีเงินให้กู้แก่สมาชิกคงเหลือ  คือ
                      (1)   เงินกู้ ฉฉ.และเบี้ยประกัน  จำนวน 1,700 สัญญา
จำนวนเงิน 447,775,093.-บาท
                     (2)   เงินกู้สามัญ จำนวน 1,978 สัญญา      จำนวนเงิน 2,214,997,552.-บาท
                        (3) เงินกู้พิเศษ  จำนวน          9 สัญญา     จำนวนเงิน        5,661,600.-บาท
              ณ วันสิ้นปี  สหกรณ์มีรายได้จากการให้เงินกู้แก่สมาชิก จำนวน  154,893,295.31บาทสูงกว่างบประมาณรายได้ที่กำหนดไว้ จำนวน   1,893,295.31 บาท

                      สรุปข้อสังเกตที่ได้จากการตรวจสอบและข้อเสนอแนะ
                      การให้กู้ ฉฉ.รายปี เป็นการดำเนินการที่กำหนดวงเงินให้กู้สูง เกินความเป็นจริงด้วยเหตุฉุกเฉิน เนื่องจากมีวงเงินให้กู้ถึง 350,000 บาท ทำให้สมาชิกมีหนี้สินสูงเกินความสามารถที่จะชำระเงินตามระยะเวลาที่กำหนดได้ อัตราการให้ออกจากสมาชิก และใช้วิธีโอนหุ้นชำระหนี้ จึงมีสูงขึ้นโดยลำดับ  จึงควรปรับปรุงระเบียบว่าด้วยการให้กู้ และกำหนดวงเงินให้กู้ให้เหมาะสมกับสภาพที่เป็นจริง
             
          4.  ผลการแก้ไขปรับปรุง   ขอสังเกต และข้อเสนอแนะที่คณะผู้ตรวจสอบกิจการได้นำเสนอเป็นเอกสารรายงานต่อที่ประชุมเป็นรายเดือน ส่วนใหญ่มีการดำเนินการปรับปรุงแก้ไข และบางเรื่องอยู่ระหว่างการดำเนินการ เช่นการแก้ไขระเบียบ และเนื่องจากคณะผู้ตรวจสอบกิจการคณะนี้ยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่ออีก 1 ปีการเงิน ซึ่งจะได้ติดตามให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อมวลสมาชิก
           จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา
                                                              
                                                                     
                                                                       นางสาวสุมารี  อุสาหะ
                                                                   ประธานคณะผู้ตรวจสอบกิจการ

โทรศัพท์ 091 8877 545

หมายเหตุ     รายงานการตรวจสอบกิจการสหกรณ์ออมทรัพย์ครูสิงห์บุรี จำกัด ทุกเดือน ตั้งแต่เดือน ธันวาคม      2558 ถึงเดือน พฤศจิกายน 2559 และรายงานสิ้นปีการเงิน 2559 สามารถดูได้ที่ http://konkae1.blogspot.com/

 












                                                 

                                               
                
                                            







วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2559

รายงานการตรวจสอบกิจการ
สหกรณ์ออมทรัพย์ครูสิงห์บุรี จำกัด
ประจำเดือน ตุลาคม  2559
เรียน   คณะกรรมการสหกรณ์ออมทรัพย์ครูสิงห์บุรี จำกัด
          ผู้ตรวจสอบกิจการ ทั้ง 5 คน ได้ดำเนินการตรวจสอบกิจการ เมื่อวันที่ 11 พฤศจิยายน 2559 ตามแผนที่กำหนดไว้ จึงขอรายงามผลการตรวจสอบ ดังนี้
1. เรื่องที่ตรวจ
   1.1  ติดตามการดำเนินการตามข้อเสนอแนะที่ได้ให้ไว้    
     2. วัตถุประสงค์ของการตรวจสอบ
      2.1 เพื่อตรวจสอบความการดำเนินการและเหคุผลที่อ้าง
3. ขอบเขตและวิธีการตรวจสอบ
          ตรวจเอกสารหลักฐานการดำเนินการตามข้อเสนอแนะ                            
   3. 4. ผลการตรวจสอบและข้อเสนอแนะ
     4.1 ผลการตรวจสอบ             
(1) เรื่องกระบวนการดำเนินการรับ จ่ายเงิน
1. การรับเงิน การบวนการดำเนินการไม่สอดคล้องกับระเบียบ     ได้เสนอให้ปรับปรุงระเบียบ กำลังจะเริ่มดำเนินการ
2.เรื่องทะเบียนสมาชิกรายตัวที่ทำด้วยมือได้มีการปรับปรุงให้ข้อมูลตรงกับช่องที่กำหนดแล้ว วึ่งเป็นทะเบียนที่ยังคงมีความสำคัญอยู่มาก หากยกเลิกควรอบรมเจ้าหน้าที่ทั้งหมดอย่างเข้มแข็งในเรื่องความสำคัญ และความจำเป็น
3. เรื่องการจ่ายเบี้ยประชุมใหญ่ให้กับสมาชิกที่ไม่ได้มาเข้าประชุม ได้เสนอแนะไว้ว่าไม่มีระเยียบรองรับห้ามจ่าย
4 เรื่องการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างให้เป็นไปตามระเบียบที่ว่าด้วยการพัสดุ ยังดำเนินการไม่ครบถ้วน
5. การให้เงินกี่ทีการปรับปรุงเกณฑ์การกู้และมีการให้กู้ในรูปแบบต่าง เช่นกู้ ฉ.ฉ.รายปี  กู้เงินประกัน
ควรมีการปรับปรุงระเบียบ
สำหรับเรื่องอื่น ๆ คณะกรรมการควรเร่งรัดและควรสอบให้มีการดำเนินการ เนื่องจากอีก 1 เดือนก็จะสิ้นปีทางบัญชี


           
                                             สุมารี  อุสาหะ         ผู้ตรวจสอบกิจการ                    
                                               จ.ส.อ.ดิเรก   พรประเสริฐ          ผู้ตรวจสอบกิจการ
                                                สุมาลี  ชูจันทร์          ผู้ตรวจสอบกิการ            
                                       สำราญ  ชูเนตร              ผู้ตรวจสอบกิจการ
                                               วันชัย  กล้าเอี่ยม                  ผู้ตรวจสอบกิจการ







วันอาทิตย์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ผลการวิเคราะห์รายรับ รายจ่า รอบ 3 ไตรมาส เอกสานแนบการตรวจสอบเดือนกันยายน

สรุปรายรับ-จ่ายไตรมาสที่ 1,2และ3 (1ธันวาคม 2558 31 สิงหาคม 2559)
สหกรณ์ออมทรัพย์ครูสิงห์บุรี จำกัด
รายการรับ-จ่าย
ประมาณการ
ไตรมาสที่ 1 และ 2
ไตรมาสที่ 3
รวมทั้งสิ้น
(ไครมาส 1 , 2และ 3)
ร้อยละของประมาณการ
มิถุนายน
กรกฎาคม
สิงหาคม
รวม
รายรับ
1.ดอกเบี้ยรับ

153,000,000.-

77,300,702.75

12,980,409.54

13,348,770.87

13,437,895.75

39,767,076.16

117,067,778.91

76.51
2.รายได้อื่น ๆ
1,060,000.
268,549.63
163,099.46
18,006.25
8,598.75
189,704.46
458,254.09
43.23
รวมรับ
154,060,000.-
77,569,252.38
13,143,509.-
13,366,777.12
13,446.494.50
39,956,780.62
117,526,033.-
76.29
รายจ่าย
1.ดอกเบี้ยจ่าย

45,600,000.-

12,292,295.88

1,665,686.91

1,459,068.47

1,664,130.09

4,788,885.38

17,081,181.26

37.46
2.เงินสดจ่าย
9,400,000.-
6,411,158.-
565,680.-
389,210.-
417,840.-
1,372,730.-
7,783,888.-
82.81
3.ประมาณการ
3,350,000.-
27,097.-
1,122.-
5,550.-
1,806.-
8,478.-
35,575.-
1.06
4จัดซื้อทรัพย์สิน
550,000.-
17,690.-
0.-
   0.-
26,960.--
26,960.-
44,650.-
8.12
5.อื่น ๆ
5,918,200.-
3,007,124.65
156,673.95
90,485.22
322,828.33
869,441.50
3,876,566.15
65.50
รวมจ่าย
64,818,200.-
19,839,865.53
2,389,162.86
1,944,313.69
2,433,564.42
6,767,040.97
26,606,906.50
41.05

ากบัญชีสรุปข้างต้น แสดงรายรับ และรายจ่ายที่เกิดขึ้นจริง ข้อมูลได้จากเจ้าหน้าที่บัญชี และการตรวจสอบเอกสารประกอบการลงบัญชีในรอบ 3 ไตรมาส จากข้อมูลพบว่ารายรับในภาพรวมเป็นสูงกว่าประมาณการเล็กน้อย คิดเป็นร้อยละ1.29 จากประมาณการที่ตั้งไว้ โดยคิดค่าเฉลี่ยจาก 4 ไตรมาส รายรับที่ได้เกิดจากดอกเบี้ยเงินให้กู้แก่สมาชิก  สำหรับรายได้อื่น ๆ  ต่ำกว่าประมาณการที่ตั้งไว้มาก เมื่อเปรียบเทียบกับระยะเวลาดำเนินการ 3 ไตรมาส มีรายรับเพียง ร้อยละ 43.23  เมื่อวิเคราะห์ในรายละเอียดพบว่ารายการที่ยังไม่พบว่ามีรายได้เลย ได้แก่ รายการค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญที่เกิดจากลูกหนี้อื่น และลูกหนี้ตามคำพิพากษา ซึ่งที่ประชุมใหญ่ประมาณการไว้ จำนวน 500,000.-บาท
            สำหรับรายจ่าย ต้องขอชื่นชมว่าสามารถลดรายจ่ายด้านคอกเบี้ยจ่ายได้ดี ระยะเวลา 3 ไตรมาส จ่ายไปเพียงร้อยละ 37.40   แต่มีรายจ่าย หมวดจ่ายเงินสด จ่ายไปแล้วถึง ร้อยละ 82.81 เมื่อวิเคราะห์ในรายละเอียดพบว่า เดือน สิงหาคม มีรายการจ่ายที่สูง คือค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า และมีรายการจ่ายค่าจัดงานมุทิตาสมาชิกที่เกษียณอายุ ในภาพรวมแม้จะมีรายจ่ายเพียง 41.05 ก็ยังไม่สามารถมั่นใจได้ว่าจะเป็นอัตราค่าใช้จ่ายในการบริหารทั้งหมด เนื่องจาก ค่าใช้จ่ายในหมวด 3 หมวดประมาณการ จำเป็นต้องนำมาตัดจ่ายเมื่อสิ้นปีทางการเงิน สำหรับค่าน้ำค่าไฟ เมื่อวิเคราะห์แล้วพบว่ามีการใช้ห้องประชุมบ่อยครั้ง
ข้อสังเกต 1. ระยะเวลาดำเนินการผ่านไปแล้ว 9 เดือน รายรับตามประมาณการ รายการติดตามหนี้ที่สงสัยจะสูญยังไม่มีการเคลื่อนไหว
                 2. ค่าใช้จ่ายบางหมวดมีค่าร้อยละสูง
ข้อเสนอแนะ  1. ควรมีการเร่งรัด และติดตาม ลูกหนี้ที่ตั้งค่าเผื่อหนี้จะสูญไว้ ปีที่ผ่านมา ให้ชัดเจน และจริงจัง ทั้งนี้อาจมอบหมายให้อนุกรรมการติดตามหนี้ ซึ่งจากรายงานการประชุม มีผลงานและดำเนินการได้อย่างชัดเจน
                        2. ค่าใช้จ่ายแต่ละรายการควรมีการควบคุมให้เป็นไปตามรายการที่ที่ประชุมใหญ่อนุมัติ สำหรับรายการที่มีค่าใช้จ่ายสูงควรนำมาวิเคราะห์และจัดทำมาตรการประหยัดเป็นกรอบในการดำเนินการไว้บ้าง แม้จะจำเป็นต้องให้บริการสมาชิกก็สามารถดำเนินการได้ตามมาตรการประหยัด