วันจันทร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2560

รายงานการตรวจสอบกิจการเดือนพฤษภาคม 2560

รายงานการตรวจสอบกิจการ
สหกรณ์ออมทรัพย์ครูสิงห์บุรี จำกัด
ประจำเดือน พฤษภาคม 2560
เรียน   คณะกรรมการสหกรณ์ออมทรัพย์ครูสิงห์บุรี จำกัด
          ผู้ตรวจสอบกิจการ ทั้ง 5 คน ได้ดำเนินการตรวจสอบกิจการ เมื่อวันที่ 7  มิถุนายน  2560 ตามแผนที่กำหนดไว้ จึงขอรายงามผลการตรวจสอบ ดังนี้
1. เรื่องที่ตรวจ
   1.1  ติดตามการดำเนินการตามข้อเสนอแนะที่ได้ให้ไว้ในการตรวจสอบ ฯ เดือน เมษายน 2560
   1.2  ตรวจสอบสภาพครุภัณฑ์
   1.3 ตรวจสอบทุนของสหกรณ์
    2. วัตถุประสงค์ของการตรวจสอบ
      2.1 เพื่อตรวจสอบการดำเนินการตามข้อสังเกต และข้อเสนอแนะ
      2.2 เพื่อตรวจสอบสภาพครุภัณฑ์ ตามทะเบียน
        2.3 เพื่อตรวจสอบสภาพทุนของสหกรณ์
        3. ขอบเขตและวิธีการตรวจสอบ
     3.1 สอบถามและตรวจสอบการดำเนินการตามข้อเสนอแนะและข้อสังเกต
      3.2 ตรวจสอบสภาพของครุภัณฑ์ที่มีอยู่ตามตามทะเบียน
      3.3 ได้ตรวจสอบทุนของสหกรณ์ว่ามีอะไรบ้าง มีการดำเนินการอย่างไร มีการจัดทำทะเบียนคุมอย่างไร
4. ผลการตรวจสอบและข้อเสนอแนะ
          (1) เรื่องการติดตามการดำเนินการตามข้อเสนอแนะที่ได้ให้ไว้ในการตรวจสอบ ฯ เดือนเมษายน 2560
เรื่องที่ตรวจ
ข้อสังเกต/ข้อเสนอแนะ
การดำเนินการ
1.หุ้น หนี้ ของสมาชิกข้าราชการบำนาญ
ไม่มี
ผู้ตรวจสอบกิจการได้ส่งจำนวนหุ้น หนี้ ที่ได้ตรวจสอบแล้วเห็นว่าถูกต้องตามทะเบียนที่สหกรณ์ได้จัดทำ ให้สมาชิกตรวจสอบ จำนวน 253 คน โดยให้ตอบกลับจากการดำเนินการพบว่า มีสมาชิกตอบกลับเพียง 5 ราย
ทุกรายยืนยันยอดหุ้นและหนี้ว่าถูกต้อง
   จากสภาพที่เป็นผลการดำเนินการในครั้งนี้ ผู้ตรวจสอบกิจการ มีความเห็นว่า สมาชิกมีความไว้วางใจ และเชื่อมั่นในการดำเนินการของสหกรณ์
2. การจัดทำทะเบียนครุภัณฑ์ที่มีการจัดซื้อเมื่อเดือนมีนาคม
ให้มีการจัดทำทะเบียนครุภัณฑ์ให้เรียบร้อย
ได้มีการจัดทำทะเบียนครุภัณฑ์เรียบร้อยแล้ว

          (2) ตรวจสอบสภาพครุภัณฑ์
           ได้ตรวจสอบสภาพครุภัณฑ์ที่ปรากฏในทะเบียนครุภัณฑ์ พบว่ามีครบถ้วน อยู่ในสภาพดีใช้งานได้ และเมื่อตรวจสอบเครื่องถ่ายเอกสารมีสภาพดีใช้งานได้ แต่ไม่พบทะเบียน ได้สอบถามเจ้าหน้าที่พบว่ายังไม่ได้จัดทำ
          ข้อสังเกต    เจ้าหน้าที่ยังขาดความชัดเจนในการปฏิบัติให้ถูกต้องตามระเบียบ จากประสบการณ์ในการตรวจพบว่าเจ้าหน้าที่จะรอให้กรรมการบอกว่าให้ทำอย่างไร

          ข้อเสนอแนะ คณะกรรมการและฝ่ายจัดการควรร่วมมือกันในการพัฒนากระบวนการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามระเบียบโดยเฉพาะเรื่องการพัสดุด้วยการจัดทำคู่มือปฏิบัติงาน เนื่องระเบียบยังขาดความสมบูรณ์ในเรื่องรูปแบบ เพราะระเบียบกำหนด ให้คณะกรรมการดำเนินการกำหนด ดังเช่น
 หมวด  4
การควบคุมและจำหน่ายพัสดุ

                ข้อ 27  เมื่อเจ้าหน้าที่พัสดุได้รับมอบพัสดุแล้วให้ดำเนินการดังนี้
                                (1)  ลงบัญชีพัสดุหรือทะเบียนครุภัณฑ์แล้วแต่กรณีแยกเป็นชนิดและแสดงรายการตามแบบตัวอย่างที่คณะกรรมการดำเนินการกำหนด
                                (2)  เก็บรักษาพัสดุให้เป็นที่เรียบร้อย ปลอดภัย ครบถ้วน ถูกต้องตามบัญชีหรือทะเบียน
                ข้อ 28  การเบิกพัสดุให้พนักงานเป็นผู้เบิกต่อสหกรณ์  ผู้จ่ายพัสดุต้องตรวจสอบความถูกต้องของใบเบิกและเอกสารประกอบแล้วลงบัญชี  หรือทะเบียนทุกครั้งที่มีการจ่าย  และเก็บใบเบิกไว้เป็นหลักฐาน
                ข้อ 29  ก่อนสิ้นปีทางบัญชีของสหกรณ์ให้ประธานกรรมการแต่งตั้งกรรมการดำเนินการคนหนึ่ง  หรือหลายคนตามความจำเป็นตรวจสอบการรับจ่ายพัสดุในรอบปีที่ผ่านมา  และตรวจนับพัสดุคงเหลืออยู่เพียงวันสิ้นสุดปีทางบัญชีของสหกรณ์แล้วรายงานให้ประธานกรรมการทราบ
                ข้อ 30  เมื่อประธานกรรมการได้รับรายงานมีพัสดุชำรุด  เสื่อมคุณภาพ  สูญหาย  หรือไม่จำเป็นต้องใช้ต่อไปอีกให้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบหาข้อเท็จจริงขึ้นคณะหนึ่ง  ถ้าผลการพิจารณาปรากฏว่าต้องหาตัวผู้รับผิดชอบก็ให้ประธานกรรมการสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดชอบในทางแพ่ง
ข้อ 31  ถ้าผลการพิจารณาปรากฏว่าไม่มีตัวผู้ต้องรับผิดให้เจ้าหน้าที่พัสดุเสนอต่อคณะกรรมการดำเนินการ  เพื่อจำหน่ายหรือขายทอดตลาดแล้วลงจำหน่ายออกจากบัญชีหรือทะเบียน


          (3) เพื่อตรวจสอบสภาพทุนของสหกรณ์
                        ได้ตรวจสอบสภาพทุนของสหกรณ์ ในด้านเงินทุน ณ วันที่ 30 เมษายน 2560 พบว่ามีเงินทุน จำนวน ทั้งสิ้น 1,867,220,029.84บาท  อยู่ในสภาพ ดังนี้
                        1. เป็นทุนเรือนหุ้นของสมาชิกสามัญ จำนวน  1,581,866,040.-บาท
                        2. เป็นทุนเรือนหุ้นของสมาชิกสมทบ  จำนวน 127,814,400.- บาท
                        3. เป็นทุนสำรอง                        จำนวน 155,309,092.46 บาท
                        4. เป็นทุนสาธารณประโยชน์              จำนวน 691,800.- บาท
                   5. เป็นทุนรักษาระดับอัตราปันผล       จำนวน 585,000.- บาท
                        6. เป็นทุนเพื่อการศึกษาอบรมทางสหกรณ์  จำนวน 292,175 .- บาท
                        7. เป็นทุนสะสมเพื่อสมาชิกและสังคม        จำนวน 661,522.38 บาท
                        ทุนในลำดับที่ 4 , 6 และ 7 สหกรณ์สามารถใช้ในการบริหารงานได้ โดยมีระเบียบว่าด้วยการใช้จ่ายในเรื่องนั้น ๆ จากการตรวจและศึกษาข้อบังคับและระเบียบแล้วพบว่า มีระเบียบที่ใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้จ่ายเงินกองทุน 2 ระเบียบ ยังขาดระเบียบเกี่ยวกับการใช้เงินทุนเพื่อการศึกษาอบรมทางสหกรณ์
                   ข้อสังเกต   1. เดือนเมษายน 2560 มีการใช้จ่ายเงินทุนเพื่อการศึกษาอบรมทางสหกรณ์ไปจำนวน 37,300 บาท
                                             2. มีการใช้จ่ายเงินทุนสะสมเพื่อสงเคราะห์สมาชิกและสังคม ในเดือนเมษายน 2560ไปจำนวน 271,256 บาท ในโครงการอนุมัติเพียง 119,100 บาท
                        ข้อเสนอแนะ  1. คณะกรรมการควรจัดทำระเบียบว่าด้วยการใช้เงินทุนเพื่อการศึกษาอบรม เพื่อเป็นแนวทางในการใช้จ่ายและควบคุม
                                                2. การเขียนโครงการต้องวางแผนการดำเนินการที่เป็นงานต่อเนื่องไว้ด้วย เช่น การให้สวัสดิการแก่สมาชิกผู้สูงอายุ เนื่องจากมีสมาชิกอายุครบเกณฑ์ทุกเดือน ซึ่งฝ่ายจัดการ จำเป็นต้องจ่าย หากเขียนไว้ในโครงการก็จะเป็นโครงการที่มีกิจกรรมทำต่อเนื่องทุกเดือน และสามรถอนุมัติครั้งเดียวได้ครอบคลุมจะดูเป็นโครงการที่ใหญ่และมีคุณค่า ทั้งนี้จะเป็นแนวทางให้ฝ่ายจัดการได้ปฏิบัติงานได้ชัดเจนขึ้น
                                                3. ในทุกเดือนควรมีรายงานในเรื่องความเคลื่อนไหวของเงินทุน สะสมเพื่อสมาชิกและสังคม และเงินทุนเพื่อการศึกษาอบรมทางสหกรณ์ด้วย 
                                      4. การอนุมัติให้ใช้จ่ายที่นอกเหนือจากงานปฏิบัติตามปกติ คณะกรรมการควรระบุด้วยว่าให้ใช้จ่ายในเงินรายการใด โดยเฉพาะเงินทุนต่าง ๆ
คณะผู้ตรวจสอบกิจการ
                  





แนวทางการตรวจสอบกิจการเดือนพฤษภาคม 2560

แนวทางการตรวจสอบกิจการประจำเดือน พฤษภาคม 2560

เรื่องที่จะตรวจสอบ
          1. ติดตามผลการดำเนินการตามข้อสังเกตและข้อเสนอแนะ ประจำเดือน เมษายน 2560 ที่ได้ให้ไว้ในการประชุม เมื่อ 17 พฤษภาคม 2560 ซึ่งมีดังนี้
                   1.1 การตรวจสอบหุ้นหนี้รายตัวสมาชิกที่สุ่ม จำนวน ที่กำหนดไว้ 253 คน  ทำได้ เท่าไร ด้วยเหตุผลใด (เป็นเรื่องการดำเนินการของผู้ตรวจสอบกิจการ) ส่งถึงสมาชิกได้จำนวน เท่าไร  ได้ตอบรับคืนจำนวนเท่าไร คิดเป็นร้อยละเท่าไร
                   1.2 การจัดทำทะเบียนครุภัณฑ์  ขอดูทะเบียนครุภัณฑ์ว่าได้มีการดำเนินการเป็นปัจจุบันหรือยัง รายการสุดท้ายคือการจัดซื้อครุภัณฑ์เดือนมีนาคม 2560  และให้ดูบัญชีว่ามีรายการจัดซื้อครุภัณฑ์อื่นอีกหรือไม่ หลังจากเดือนมีนาคม หากมีการจัดซื้อให้ตรวจสอบทะเบียนครุภัณฑ์ด้วย  และให้ตรวจอบการลงรหัสครุภัณฑ์ด้วย
          2.เรื่องที่ตรวจสอบเดือนนี้
                   2.1 ตรวจสอบสภาพครุภัณฑ์ที่มีอยู่ตามทะเบียน              
                             ให้ใช้วิธีตรวจสภาพจริงเปรียบเทียบกับทะเบียน โดยใช้วิธีสุ่มทะเบียนครุภัณฑ์ดูสัก 10 รายการ ว่าครุภัณฑ์มีอยู่หรือ ไม่ สภาพเป็นอย่างไร เพื่อเป็นแนวทางในการให้ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะเรื่องการจัดทำทะเบียนครุภัณฑ์
                   2.2 ตรวจสอบสภาพทุนของสหกรณ์ ว่าสหกรณ์มุทุนอะไรบ้าง การบริหารเงินทุนทำอย่างไร
                   2.3 ตรวจสอบรายได้อื่น ๆ ว่ามีหรือไม่ ได้จากอะไร ดูตามประมาณการที่ขออนุมัติที่ประชุมใหญ่ไว้ว่า มีอะไรบ้าง ได้มาแล้วหรือยัง เนื่องจากมีการดำเนินงานมาครึ่งปีแล้ว
                   2.4 เรื่องอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นตามสถานการณ์และควรนำมาเป็นประเด็นในการตรวจสอบ


แนวทางการตรวจสอบเดือนเมษายน

แนวทางการตรวจสอบ เดือนเมษายน 2560
(1)             การยืนยันยอด เป็นเทคนิคที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากสมาชิกหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับสหกรณ์ที่ทราบเกี่ยวกับหลักฐานต่างๆ โดยให้ยืนยันเป็นลายลักษณ์อักษรมายังผู้ตรวจสอบกิจการโดยตรง ทำให้ทราบว่ามีสินทรัพย์ หนี้สิน และทุนเรือนหุ้นของสมาชิกอยู่จริง การยืนยันยอดนี้เมื่อปฏิบัติโดยถูกต้องย่อมเป็นหลักฐานที่เชื่อถือได้มากที่สุด เทคนิคนี้ใช้ในการยืนยันยอดเงินฝากธนาคาร ลูกหนี้เงินกู้ ลูกหนี้การค้า เงินเบิกเกินบัญชีธนาคาร เจ้าหนี้เงินกู้ เจ้าหนี้เงินรับฝาก ทุนเรือนหุ้นของสมาชิก สินทรัพย์ซึ่งอยู่ในความครอบครองของบุคคลภายนอก กรรมสิทธิ์ในสินทรัพย์และหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้า
การใช้เทคนิคนี้ให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง ผู้ตรวจสอบกิจการต้องควบคุมและตรวจทาน
การยืนยันยอด รวมทั้งดำเนินการให้มีการจัดส่งไปยังผู้รับเองและระบุให้ตอบกลับมาที่ผู้ตรวจสอบกิจการโดยตรง เพื่อป้องกันกรณีต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น เช่น การแก้ไขก่อนทำการส่งออก การไม่ส่งไปให้ผู้รับ               หรือส่งไปยังตำบลที่อยู่อื่น หรือแก้ไขคำตอบที่ได้รับ เป็นต้น
ตัวอย่าง  การใช้เทคนิคยืนยันยอดลูกหนี้หรือการสอบทานหนี้ จะช่วยให้ทราบว่าลูกหนี้ตามบัญชีมีอยู่จริงและถูกต้อง รวมทั้งทราบการทุจริตโดยวิธียักยอกเงินรับชำระหนี้หรือการสร้างลูกหนี้เท็จเพื่อปิดบังการยักยอกเงินให้กู้
วิธีการยืนยันยอดลูกหนี้หรือการสอบทานหนี้ มี 2 วิธี คือ
1.          การสอบทานโดยตรง  เป็นการสอบถามโดยตรงกับตัวลูกหนี้ ซึ่งอาจทำการสอบทานในขณะที่
ผู้ตรวจสอบกิจการเข้าตรวจสอบสหกรณ์นั้น ๆ
2.   การสอบทานโดยขอคำยืนยันยอดทางไปรษณีย์ แบ่งเป็น
-                 แบบให้ตอบกลับทุกกรณี เป็นแบบที่ให้สมาชิกตอบกลับมายังผู้ตรวจสอบกิจการ
ในทุกกรณีไม่ว่าจะมีข้อทักท้วงหรือไม่ก็ตาม
-                 แบบตอบกลับเมื่อมีข้อทักท้วง เป็นแบบที่ให้สมาชิกตอบกลับมายังผู้ตรวจสอบกิจการเฉพาะที่มีข้อทักท้วงเท่านั้น หากยอดเงินเป็นหนี้ที่แจ้งไปเป็นยอดที่ถูกต้องแล้ว สมาชิกก็ไม่ต้องตอบกลับมา











การยืนยันยอดทุนเรือนหุ้น และยอดเงินกู้

 เรียน   สมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ครูสิงห์บุรี จำกัด

             ด้วยคณะผู้ตรวจสอบกิจการฯ ประกอบด้วย   1. นางสาวสุมารี  อุสาหะ                                2.จ.ส.อ.ดิเรก  พรประเสริฐ   3.นางสุมาลี  ชูจันทร์   4.นายสำราญ  ชูเนตร  และ 5.นายวันชัย  กล้าเอี่ยม  ได้ดำเนินการตรวจสอบยอดทุนเรือนหุ้น และยอดหนี้จากการกู้ของสมาชิก ณ วันที่  30  เมษายน  2560  จากหลักฐานที่ปรากฏในระบบโปรแกรมสำเร็จรูป และหลักฐานทะเบียนหุ้น หนี้ ที่จัดทำด้วยมือ ซึ่งสหกรณ์ฯ ได้ดำเนินการจัดทำคู่ขนานกัน และมีการสอบทานยอดระหว่าง 2 ระบบ ทุก ๆสิ้นเดือน เพื่อป้องกันความผิดพลาด ก่อนออกใบเสร็จเรียกเก็บเงินจากสมาชิก  สำหรับใบเสร็จแต่ละเดือนจะปรากฏจำนวนหุ้นที่ท่านมีอยู่ และจำนวนหนี้ที่ท่านเป็นหนี้กับสหกรณ์ ณ วันออกใบเสร็จเรียกเก็บจากหน่วยงานต้นสังกัด
             จากผลการตรวจสอบของผู้ตรวจสอบกิจการ ณ วันที่ 30 เมษายน 2560 ท่านมีหุ้น และหนี้ดังนี้
             1. มีทุนเรื่อนหุ้น คิดเป็นมูลค่า  .............................. บาท
             2. มีหนี้กับสหกรณ์ฯ ดังนี้
                   2.1 หนี้กู้ สามัญ คงเหลือ จำนวน ................................ บาท
                   2.2 หนี้กู้ ฉ.ฉ. คงเหลือ  จำนวน ................................  บาท
                   2.3 หนี้กู้ พิเศษ คงเหลือ จำนวน ...............................  บาท
                   2.4 หนี้กู้สวัสดิการ คงเหลือ จำนวน ..........................  บาท
             จึงให้ท่านตรวจสอบด้วยตัวของท่านเอง แล้วตอบกลับผู้ตรวจสอบกิจการสหกรณ์ออมทรัพย์ครูสิงห์บุรี จำกัด โดยตรงตามแบบและแสตมป์ที่แนบมาพร้อมหนังสือนี้  ขอขอบพระคุณมา ณ โอกาสนี้ด้วย
   
                                       คณะผู้ตรวจสอบกิจการสหกรณ์ออมทรัพย์ครูสิงห์บุรี จำกัด

                              
       


หมายเหตุ ยอดทุนเรือนหุ้นและยอดหนี้ที่ปรากฏตามเอกสารนี้ เป็นยอดที่ปรากฏในหลักฐานของสหกรณ์ฯ






ส่ง
                        ผู้ตรวจสอบกิจการสหกรณ์ออมทรัพย์ครูสิงห์บุรี จำกัด
                         สหกรณ์ออมทรัพย์ครูสิงห์บุรี จำกัด
                         ตำบลต้นโพธิ์           อำเภอเมืองสิงห์บุรี
                          จังหวัดสิงห์บุรี       16000


















แบบตอบกลับการตรวจสอบยอดทุนเรือนหุ้นและยอดเงินกู้คงเหลือ
ณ  วันที่  30  เมษายน  2560

เรียน   ผู้ตรวจสอบกิจการสหกรณ์ออมทรัพย์ครูสิงห์บุรี จำกัด
                   ข้าพเจ้า .................................................สมาชิก หน่วยอำเภอ.............................................
ได้ตรวจสอบยอดทุนเรือนหุ้นและยอดหนี้คงเหลือแล้ว เห็นว่า (ให้กาเครื่องหมายถูกลงหน้าข้อความที่ต้องการ)
                   ………………  ถูกต้อง
                   ................... ไม่ถูกต้อง   เนื่องจาก ............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
                   ข้าพเจ้า ขอให้ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาสหกรณ์ออมทรัพย์ครูสิงห์บุรี จำกัด ดังนี้ ........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

(ลงชื่อ)…………………………………………………..
        (.........................................................)


รายงานการตรวจสอบเดือนมีนาคม

รายงานการตรวจสอบกิจการ
สหกรณ์ออมทรัพย์ครูสิงห์บุรี จำกัด
ประจำเดือน มีนาคม 2560
เรียน   คณะกรรมการสหกรณ์ออมทรัพย์ครูสิงห์บุรี จำกัด
          ผู้ตรวจสอบกิจการ ทั้ง 5 คน ได้ดำเนินการตรวจสอบกิจการ เมื่อวันที่ 10 – 11 มีนาคม  2560 ตามแผนที่กำหนดไว้ จึงขอรายงามผลการตรวจสอบ ดังนี้
1. เรื่องที่ตรวจ
   1.1  ติดตามการดำเนินการตามข้อเสนอแนะที่ได้ให้ไว้ในการตรวจสอบ ฯ เดือน กุมภาพันธ์ 2560
   1.2  รายรับ รายจ่าย ไตรมาสแรก
    2. วัตถุประสงค์ของการตรวจสอบ
      2.1 เพื่อตรวจสอบการดำเนินการและเหตุผลที่อ้าง
      2.2 เพื่อวิเคราะห์กำไรสุทธิ ประจำไตรมาสแรก
        3. ขอบเขตและวิธีการตรวจสอบ
     3.1 สอบถามและตรวจสอบการดำเนินการตามข้อเสนอแนะและข้อสังเกต
      3.2 ตรวจสอบรายการ การรับ การจ่ายว่ามีรายการใดมีผลในการวิเคราะห์กำไรสุทธิ
4. ผลการตรวจสอบและข้อเสนอแนะ
          (1) เรื่องการติดตามการดำเนินการตามข้อเสนอแนะที่ได้ให้ไว้ในการตรวจสอบ ฯ เดือนมกราคม2560
          การตรวจสอบฯ ประจำเดือน กุมภาพันธ์ 2560 ผู้ตรวจสอบฯได้ให้ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะไว้ โดยที่ประชุมเห็นชอบที่จะนำไปปฏิบัติ มี 2 เรื่อง คือ 1. การดำเนินการตามระเบียบว่าด้วยการใช้ทุนสาธารณประโยชน์ และระเบียบว่าด้วยกองทุนสะสมเพื่อสวัสดิการสงเคราะห์สมาชิกและสังคม 2. เรื่องการติดตามผลการประชุมคณะอนุกรรมการ และกรรมการฝ่ายต่าง ๆ ที่มีการประชุมหลายคณะและจำนวนครั้งในการประชุมสูงขึ้นอย่างผิดสังเกต โดยขอให้ฝ่ายตรวจสอบภายในตรวจสอบบันทึกรายงานการประชุม และวิเคราะห์ผลตามบทบาทหน้าที่ ผลการติดตามปรากฏ ดังนี้
          (1.1) เรื่องการดำเนินการตามระเบียบว่าด้วยการใช้ทุนสาธารณประโยชน์ และระเบียบว่าด้วย กองทุนสะสมเพื่อสวัสดิการสงเคราะห์สมาชิกและสังคม ผู้จัดการ ได้ชี้แจงว่าได้ออกคำสั่งมอบหมายความรับผิดชอบให้ นางจันทนา ยาดี รองผู้จัดการ เป็นผู้รับผิดชอบ และได้จัดทำคู่มือปฏิบัติงาน งานทุนสาธารณประโยชน์ เพื่อให้ผู้รับผิดชอบถือปฏิบัติ สำหรับคู่มือขณะนี้ได้เตรียมนำเสนอที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการเพื่อตรวจสอบและรับทราบแนวทางปฏิบัติของฝ่ายจัดการ สำหรับการดำเนินการตามระเบียบกองทุนสะสมเพื่อสวัสดิการสงเคราะห์สมาชิกและสังคม ได้ถอนเงินสะสมตามระเบียบเก่ามาเข้ารวมกับเงินกองทุนที่ได้รับจัดสรรเสร็จเรียบร้อยแล้ว และได้มอบหมายผู้รับผิดชอบศึกษาระเบียบให้ชัดเจน
            (1.2) เรื่องการดำเนินการติดตามผลการประชุมของคณะอนุกรรมการ และกรรมการฝ่ายต่าง ๆ ของฝ่ายตรวจสอบภายใน เรื่องนี้เลขานุการคณะกรรมการดำเนินการได้ติดตามในการประชุมคณะกรรมการดำเนินการในคราวประชุมเมื่อ 20  มีนาคม  2560 แล้ว
          ข้อสังเกตจากการติดตามผลตามข้อเสนอแนะ
                   1. ผู้รับผิดชอบมีความเต็มใจในการปฏิบัติ แต่ยังไม่ชัดเจนในการปฏิบัติงาน หากมีความชัดเจนจะสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                        2. งานการประชุมอนุกรรมการหรือกรรมการอื่น ๆ นอกเหนือจากคณะกรรมการดำเนินการ และคณะกรรมการอื่นตามข้อบังคับ ยังไม่มีผู้รับผิดชอบโดยตรง ทำให้การจัดประชุมยังไม่
สามรถแสดงผลได้จัดเจน
            ข้อเสนอแนะ
                   1.ควรมีการประชุมชี้แจงผู้รับผิดชอบและผู้เกี่ยวข้อง ให้เกิดความเข้าใจชัดเจน การส่งต่องานตามความสัมพันธ์ของงานจะเป็นระบบ ทุกคนที่ทำงานจะมีความสุขและเกิดผลงานตามเป้าหมาย
                        2. ควรจัดทำคู่มือปฏิบัติตามระเบียบว่าด้วย กอองทุนสะสมเพื่อสวัสดิการสงเคราะห์สมาชิกและสังคม ด้วย
                        3. งานการประชุมคณะอนุกรรมการต่าง ๆ ที่คณะกรรมการตั้งขึ้น ควรมรผู้รับผิดชอบโดยตรงและมีคู่มือปฏิบัติงาน
             (2) รายรับ รายจ่ายไตรมาสแรก
          1. ได้ตรวจสอบการเงินการบัญชีเดือน ธันวาคม 2559  มกราคม 2560 และ กุมภาพันธ์ 2560 พบว่ามีหลักฐานการจ่ายเงินครบถ้วน และมีการลงบัญชีตามหลักฐานการรับการจ่ายเงิน จำนวนต่าง ๆ ตรงตามงบทดลองที่ฝ่ายจัดการนำเสนอที่ประชุม เมื่อใช้งบทดลองที่ที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการรับทราบแล้วมาเป็นหลักในการวิเคราะห์ผลการดำเนินการในรอบ ไตรมาสแรก (เดือน ธันวาคม 2559 – กุมภาพันธ์ 2560) พบว่ามีรายรับตามที่รับจริง ดังนี้
                                    ธันวาคม 2559          จำนวน   13,883,461.85 บาท
                                    มกราคม 2560           จำนวน  13,408,059.บาท-
                                    กุมภาพันธ์ 2560         จำนวน  12,144,110.50บาท
                                                รวมไตรมาสแรกมีรายรับที่เกิดขึ้นจริง จำนวน 39,435,631.35 บาท
               มีรายจ่ายที่จ่ายจริง ดังนี้
                                    ธันวาคม 2559            จำนวน  5,479,529.21 บาท
                                     มกราคม 2560         จำนวน  1,922,317.96 บาท
                                     กุมภาพันธ์ 2560          จำนวน  1,477,675.08 บาท
                                               รวมไตรมาสแรกสหกรณ์ได้ใช้จ่ายไปเป็นเงิน จำนวน 8,879,522.25
                        จากข้อมูลที่เกิดขึ้นจริงทั้งรายรับและรายจ่ายดังได้นำเสนอข้างต้นแล้ว เมื่อวิเคราะห์ในรายการแล้วพบว่ามีรายการที่จะเกิดขึ้นจริงเมื่อสิ้นปีการเงินทั้งรายรับและรายจ่ายจึงไม่ปรากฏ จำนวนในรายรับ และรายจ่าย ดังนี้
                        รายรับ  ได้เก่ รายการผลตอบแทนการลงทุนผู้ถือหุ้น ซึ่งสหกรณ์ได้ไปลงทุนซื้อหุ้นไว้ 3 แห่งคือ ชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์ครูไทย จำกัด จำนวน 9,480 บาท  ชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งประเทศไทย จำกัด จำนวน 1,229,500 บาท และบริษัทประกันชีวิต จำนวน 200,000บาท ปีการเงินที่ผ่านมา ได้ผลตอบแทน ทั้ง 3 แห่ง เป็นเงิน 68,712.58 บาท รายรับในไตรมาสแรกนี้จึงสามารถคำนวณรายได้จากค่าตอบแทนนี้ได้ ซึ่ง ฝ่ายตรวจสอบประมาณการให้ไตรมาสแรก จำนวน 16,500 บาท (เดือนละ 5,500 บาท) รายรับไตรมาสแรกที่คาดว่าใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด จำนวน 39,452,131.35 บาท
                        รายจ่าย ได้แก่ ดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์พิเศษ ที่สมาชิกสามัญและสมาชิกฝากไว้กับสหกรณ์ ในเดือนธันวาคม2559 มีจำนวน 617,416,125.75 บาท เดือน มกราคม 2560 มีจำนวน 628,795,126.75 บาท  เดือนกุมภาพันธ์ มีจำนวน 624,564,420.95 บาท ซึ่งสหกรณ์จะต้องจ่ายดอกเบี้ย ร้อย 3 ต่อ ปี รายจ่ายไตรมาสแรก จึงจำเป็นต้องหักค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ไว้ด้วย ฝ่ายตรวจสอบกิจการได้คิดคำนวณจากยอดเงินฝากดังกล่าวแล้ว ไตรมาศแรก ต้องจ่ายดอกเบี้ยจำนวน 4,676,939.18 บาท  นอกจากนี้ยังมีรายการค่าเสื่อมราคา และค่าสำรองหนี้สูญ ซึ่งจะต้องเป็นรายจ่ายเมื่อสิ้นปี ฝ่ายตรวจสอบจึงคำนวณเป็นค่ารายจ่ายไตรมาสแรกด้วย โดยคิดคำนวณจากประมาณการที่ตั้งไว้ และรายการจ่ายจริง ปี 2559 ไตรมาสแรกจึงมีรายจ่ายเพิ่มตามรายการนี้อีก จำนวน 360,000 บาท รวมแล้วค่าใช้จ่ายไตรมาสแรกคือ 13,886,820.28  จึงมีกำไรสุทธิ จำนวน 25,565,311.07 บาทคิดเป็นร้อยละ 64.80  สำหรับรายจ่ายคิด เป็นร้อยละ 35.20 ของรายรับ
            ข้อสังเกต 1. กำไรสุทธิไตรมาสแรก คิดเป็นร้อยละ 64.80 เมื่อเปรียบเทียบกับปีการเงิน 2559 (ทั้งปี) ยังต่ำกว่าเล็กน้อย เพราะปีการเงิน 2559 มีกำไรสุทธิ 100,977,993.92 คิดเป็นร้อยละ 65.18 ของรายรับ                    
                      2. การใช้จ่าย ไตรมาสแรก คิดเป็นร้อยละ 35.20 เมื่อเปรียบกับประมาณการที่ ที่ประชุมใหญ่อนุมัติ ค่าใช้จ่าย ร้อยละ36.38 ของรายรับ ค่าใช้จ่ายจึงมีอัตราที่ต่ำกว่าประมาณการ นับเป็นเรื่องดีที่พึงรักษาไว้
            ข้อเสนอแนะ    1. ควรเพิ่มกำไรสุทธิ ด้วยการติดตามหนี้ค้างชำระ และรักษาระดับอัตราค่าใช้จ่ายไม่ควรสูงกว่านี้
                                                         คณะผู้ตรวจสอบกิจการ